วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

AI613_week13

AI613_week13_9/2/11
การรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศและจรรยาบรรณเบื้องต้น
        ความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ (Information system risk) หมายถึง เหตุการณ์หรือการกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียหรือทำลายฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ข้อมูล สารสนเทศ หรือความสามารถในการประมวลผลข้อมูลของระบบ เช่น การใช้ thumb drive ซึ่งผลกระทบที่มีต่อระบบสารสนเทศนี้ ค่อนข้างส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อองค์กร
ประเภทของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ
·         แฮกเกอร์ (Hacker) คือ กลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญในการเจาะข้อมูล ขโมยฐานข้อมูล ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีเจตนาที่ไม่ดี
·         แครกเกอร์ (Cracker) คล้ายกับ แฮกเกอร์ แต่มีเจตนาที่ดี คือเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของระบบ และนำไปเป็นแนวทางในการสร้างการป้องกันและพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัย
·         ผู้ก่อให้เกิดภัยมือใหม่ (Script Kiddies) คนรุ่นใหม่ที่พึ่งจะเริ่มเจาะระบบ หรือสร้างไวรัส
·         ผู้สอดแนม (Spies) ผู้ที่แอบดูข้อมูลของคนอื่นขณะทำงาน
·         เจ้าหน้าที่ขององค์กร (Employees) ซึ่งมักจะไม่ได้ตั้งใจ
·         ผู้ก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ (Cyber terrorist)
ประเภทของความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ
1.การโจมตีระบบเครือข่าย (Network attack)
·         ขั้นพื้นฐาน (Basic Attacks) เป็นการรื้อค้นทั่วไปในคอมพิวเตอร์ของคนอื่น
·         ด้านคุณลักษณะ (Identity Attacks) ปลอมแปลงเป็นผู้อื่นในการส่งข้อมูลเพื่อหลอกลวงผู้อื่น
·         การปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service) เป็นการโจมตีด้วยการเข้าไปที่ Server
·         ด้วยมัลแวร์ (Malware) แบ่งเป็น มุ่งโจมตีการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ เช่น ไวรัส, เวิร์ม, โทรจันฮอร์ส และมุ่งโจมตีความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ (สปายแวร์) เช่น แอดแวร์, คีลอกเกอร์
2.การเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Unauthorized access):
การใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่มีสิทธิ
3.การขโมย (Theft)
·         ขโมยฮาร์ดแวร์และการทำงานฮาร์ดแวร์
·         ขโมยซอฟต์แวร์
·         ขโมยสารสนเทศ
4.ความล้มเหลวของระบบสารสนเทศ (System failure): เช่น เสียง (Noise) พวกคลื่นเสียงรบกวนต่างๆ โดยเฉพาะขณะที่ฝนตกทำให้คลื่นโดนแทรกแซง, แรงดันไฟฟ้าต่ำ, แรงดันไฟฟ้าสูง
การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
1. การรักษาความปลอดภัยการโจมตีระบบเครือข่าย
2. การควบคุมการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. การควบคุมการขโมย
4. การเข้ารหัส
5. การรักษาความปลอดภัยอื่นๆ
6. ควบคุมการล้มเหลวของระบบสารสนเทศ 7. การสำรองข้อมูล
8. การรักษาความปลอดภัยของ Wireless LAN

จรรยาบรรณ
จรรยาบรรณทางคอมพิวเตอร์ คือหลักปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกผิดชอบเกี่ยวกับการใช้ระบบสารสนเทศ เช่น
        
- การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
- การขโมยซอฟต์แวร์ (การละเมิดลิขสิทธิ์)
- ความถูกต้องของสารสนเทศ เช่น การตกแต่งรูปภาพ เป็นต้น
- สิทธิ์ต่อทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property rights)
- หลักปฏิบัติ (Code of conduct)
- ความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ (Information privacy)

ปัญจรัตน์ อุทัยพัฒน์    5202113196

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น